การสื่อสารโทรคมนาคมคำว่า "การสื่อสารข้อมูล" และ "การสื่อสารโทรคมนาคม " มักนำมาใช้ร่วมกันเสมอ โดยคำว่า Tele มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า far ที่หมายความว่าไกล ส่วนคำว่า Communication หมายถึงการสื่อสาร
ดังนั้น Telecommunication ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า การสื่อสารโทรคมนาคมนั้นจึงหมายถึงการสื่อสารระยะไกล โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ
การสื่อสารโทรคมนาคม
โทรสาร ( Facsimile )
เครื่องโทรสารมักเรียกสั้น ๆ ว่า แฟกซ์ ใช้เทคนิคของแสงสแกนลงบนเอกสาร ต้นฉบับที่สามารถเป็นได้ทั้งข้อความและภาพ จากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปตามสายโทรศัพท์ เมื่อเครื่องฝ่ายผู้รับได้รับข้อมูลที่ส่งมา ก็จะนำข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้านั้นมาเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่เหมือนกับต้นฉบับ
โทรศัพท์ ( Telephone )
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอย่างสูง ซึ่งมักมีใช้งานตามบ้านเรือนเกือบทุกครัวเรือน ในปัจจุบัน ชุมสานโทรศัพท์นั้นได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลในบางพื้นที่มากขึ้นตามลำดับ เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง การใช้ชุมสายโทรศัพท์ในการสื่อสารนั้นราคาถูกและเป็นที่นิยม ตัวอย่างเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านเรือนต่าง ๆ ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับโมเด็ม ซึ่งบางบริษัทที่บริการอินเทอร์เน็ตก็ยังคงรูปแบบการบริการแบบแอนะล็อกกับแบบดิจิตอลความเร็วสูง โดยระบบดิจิตอลจะมีช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดธ์ที่กว้างกว่า ทำให้มีการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วโดยเฉพาะข้อมูลในรูปแบบของสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย อีกทั้งในขณะที่ใช้งานก็ยังสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้อีกด้วย เนื่องจากใช้ช่องความถี่ที่ต่างกันในการสื่อสาร ในขณะที่รูปแบบเดิมหรือแบบแอนะล็อกนั้น เมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ก็จะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้
โทรทัศน์ ( Television )
เป็นระบบที่ใช้ในการแพร่ภาพกระจายในย่านความถี่สูง เช่น ที่ย่านความถี่สูง หรือย่านความถี่สูงมาก ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ใช้สำหรับกิจการทางโทรทัศน์ ในอดีตการแพร่ภาพทางโทรทัศน์มักจะประสบกับปัญหากับพื้นที่รับสัญญาณ เช่น ตามจังหวัดที่ห่างไกล แต่ในปัจ จุบันได้มีการตั้งสถานีทวนสัญญาณโทรทัศน์ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนตามจังหวัดต่าง ๆ สามารถรับชมการแพร่ภาพโทรทัศน์ได้ ปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบออกอาการทั่วไป และอีกระบบอีกหนึ่ง คือ ระบบเคเบิลทีวี ซึ่งระบบนี้จำเป็นต้องสมัครสมาชิกและต้องเสียค่าบริการรายเดือน โดยจะมีเสารับสัญญาณที่แตกต่างกันกับเสาอากาศของโทรทัศน์ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีหนึ่งเรียกว่า Video on Demand ซึ่งเป็นระบบโทรทัศน์ที่ผู้ชมสามารถเป็นผู้เลือกชมรายการได้ด้วยตนเอง
วิทยุกระจายเสียง (Radio)
เป็นการสื่อสารที่อาศัยคลื่นวิทยุด้วยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาน หรือเรียกว่าการมอดูเลต (Modulate) การด้วยการรวมกับคลื่นเสียงที่เป็นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกัน ทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้น ๆ
ไมโครเวฟ (Microwave)
ไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่ระดับกิกะเฮิรตซ์ (GHz) และเนื่องจากความยาวของคลื่นมีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร จึงเรียกว่าไมโครเวฟนั่นเอง คลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นเส้นตรงในระดับสายตา ซึ่งหากลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาหรือตึกสูงบดบังคลื่นแล้ว จะทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังที่หมายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งจานรับส่งบนยอดตึกหรือยอดเขา เพื่อให้สัญญานส่งทอดต่อไปอีกได้
ดาวเทียม (Satellite)
เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟมีข้อจำกัดในเรื่องของลักษณะภูมิประเทศที่มีผลต่อการบดบังคลื่น ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาดาวเทียม โดยความเป็นจริงแล้ว ดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟนั่งเอง แต่เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่บนเหนือพื้นผิวโลก มีลักษณะเป็นจานขนาดใหญ่โคจรห่างจากพื้นโลกประมาณ 22,300 ไมล์ ทำให้สามารถติดต่อสถานีภาคพื้นดินที่อยู่บนพื้นโลกได้ เราสามารถส่งดาวเทียมที่เรียกว่า Grostationary ซึ่งเป็นดาวเทียมหมุนโคจรด้วยความเร็วเท่ากับโลก ทำให้ดูเหมือนกับไม่มีเคลื่อนไหว และด้วยการนำดาวเทียมดังกล่าวขึ้นไปโคจรเหนือพื้นผิวโลกเพียง 3 ดวง ก็สามารถครอบคลุมการสื่อสารได้ทุกหมุนโลก โดยดาวเทียมดวงหนึ่งส่งสัญญาณในบริเวณกว้างเท่ากับ 1 ใน 3 ของโลก (120 องศา) ดังนั้นดาวเทียม 3 ดวงก็ครอบคลุมบริเวณพื้นโลกได้ทั้งหมด (360 องศา) ส่วนการสื่อสารสามารถส่งสัญญาณแบบขาขึ้น (Uplink) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากสถานีพื้นดินไปยังดาวเทียม และการส่งสัญญาณแบบขาลง(Downlink) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากดาวเทียมมายังสถานีภาคพื้นดิน และด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมในอนาคตก็จะสามารถสื่อสารได้ทั้งสองทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบขาขึ้นหรือขาลงในขณะเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น